วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบวัตถุประสงค์ที่2

แบบทดสอบเรื่อง การอ่านในชีวิตประจำวัน จำนวน 10 ข้อ
ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เรื่อง การอ่านในชีวิตประจำวัน จำนวน 10 ข้อ
โดย เด็กหญิงสาริยา วรสาร และ เด็กหญิงณัฐธิดา เพ็งพินิจ โรงเรียนผาแดงวิทยา
คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด


ข้อที่ 1)

1.การอ่านอย่างมีวิจารณญาณทำให้เกิดกระบวนการใด
    รับสารได้ตรงประเด็นของผู้ส่งสาร
    แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นในสารที่อ่าน
   จัดลำดับเรื่องราวที่อ่านได้และบอกเล่าแก่ผู้อื่น
   สามารถวิเคราะห์วิจารณ์วินิจฉัยเรื่องที่อ่านได้

ข้อที่ 2)
.ภาษาในข้อใดที่มีอิทธิพลในการสร้างความรู้สึกได้มากที่สุด
   ภาษาพูด
   ภาษาเขียน
   ภาษากิริยาท่าทาง
   ภาษาพูดและภาษาเขียน

ข้อที่ 3)
การรับสารสามารถทำได้โดยวิธีใด
   การพูด การฟัง
   การฟัง การอ่าน
   การพูด การเขียน
   การเขียน การอ่าน

ข้อที่ 4)
การอ่าน มีประโยชน์อย่างไร
   เป็นการแสดงความคิดเห็น
   เป็นการถ่ายทอดความรู้
   เป็นการระบายความคิด
   เป็นการรับความรู้

ข้อที่ 5)
ข้อความต่อไปนี้เป็นสารประเภทใด "คิดต่างได้ แต่ต้องไม่แตกแยก"
   ให้ความรู้
   จรรโลงใจ
   โน้มน้าวใจ
   ให้ความบันเทิง

ข้อที่ 6)
หนังสือวิชาการต่างๆ จัดเป็นวรรณกรรมประเภทใด
   บันเทิงคดี
   บทความ
   เรื่องสั้น
   สารคดี

ข้อที่ 7)
การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญมีความสำคัญอย่างไรต่อชีวิตประจำวัน
   นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
   ทำให้อ่านหนังสือได้นาน
   ทำให้ได้ความบันเทิง
   ทำให้เป็นคนทันสมัย

ข้อที่ 8)
การอ่านเพื่อการวิเคราะห์สามารถทำให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์อย่างไร
   รู้จักผู้แต่งมากขึ้น
   ทำให้อ่านหนังสือได้ดีขึ้น
   ทำให้เข้าใจแก่นของเรื่อง
   สามารถเลือกซื้อหนังสือได้ดีขึ้น

ข้อที่ 9)
ข้อใดคือลักษณะของการอ่านเพื่อประเมิน
   พิจารณาเนื้อหาและส่วนประกอบ
   พิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์
   พิจารณากลวิธีในการนำเสนอ
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 10)
ในชีวิตประจำวันของนักเรียน การอ่านประเภทใดเป็นการอ่านพื้นฐาน
   การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ
   การอ่านเพื่อการวิเคราะห์
   การอ่านเพื่อประเมินค่า
   การอ่านเพื่อสังเคราะห์


วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


วิวิภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง บันทึกท่องโลก


                                                                             บันทึกท่องโลก                       
                   การเขียนบันทึกควรใช้ถ้อยคำภาษาที่สุภาพแม้จะเป็นบันทึกส่วนตัว..                                                                       การนำเรื่องราวเหตุการณ์เกี่ยวกับผู้อื่นมาเขียนบันทึกควรพิจารณาให้รอบอบ เช่น ไม่หมิ่นแคลนผู้ใดเพราะอาจเกิดผลกระทบที่ ไม่คาดคิดตามมา...การอ่านบันทึกส่วนตัวของบุคคลอื่นเป็นสิ่งไม่ควรกระทำ ยกเว้นกรณีเจ้าของบันทึกนั้นอนุญาตด้วยความเต็มใจ
 เราพยายามจะเก็บสะสมงานพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่เป็นการท่องเที่ยวให้ครบ
ก็เลยเจียดเงินที่ได้รับเป็นค่าใช้จ่าย ค่อยๆ ทยอยซื้อจากงานหนังสือแต่ละปีเป็นต้นมา
จนถึงทุกวันนี่ ที่ทำมาหากินเองแล้ว ก็ยังเก็บไม่ครบ แล้วก็ยังอ่านไม่ครบด้วยล่ะ
บันทึกการเดินทางของพระองค์ท่าน ย่อมไม่เหมือนบันทึกการท่องเที่ยวของนักเดินทางที่เราได้อ่าน
เพราะการเดินทางของพระองค์ คือ การศึกษาดูงาน และทรงนำสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยได้ กลับมาสานต่อผ่านโครงการต่างๆ
และการที่ได้อ่านงานพระราชนิพนธ์ เราจะได้เห็น ได้เที่ยว ในสถานที่บางแห่งที่นักท่องเที่ยวธรรมดาๆ อย่างเราๆ ท่านๆ ไม่สามารถเห็นได้
ในคำนำของหนังสือเล่มนี้ ทรงพระราชนิพนธ์ถึงการเดินทางไว้ว่า 
      "
ข้าพเจ้าเองยังมีความรู้สึกว่า การสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (รวมทั้งสถานที่) ด้วย 'อินทรีย์ทั้ง 6' คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ยังมีความสำคัญต่อความรู้สึก ทำให้เกิดความรู้ที่แท้จริง ...
รัฐบาลนิวซีแลนด์สามารถจัดให้ข้าพเจ้าไปแอนตาร์กติกาได้ แต่ต้องเป็นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นต้นฤดูร้อนของเขา ถึงแม้จะรู้สึกว่าระยะเวลานี้เป็นช่วงที่ข้าพเจ้าน่าจะทำงานช่วยบ้านเมืองมากกว่าจะไปต่างประเทศ แต่เมื่อได้คุยกับท่านเอกอัครราชฑูตแล้ว ก็รู้สึกว่าการเดินทางเช่นนี้เป็นสิ่งที่ดึงดูใจ และทน 'ความเย้ายวนนี้ไม่ไหว...
       'การผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ของข้าพเจ้าจึงเกิดขึ้น แม้ว่าจะเทียบไม่ได้กับนักสำรวจเช่น อามันเสน หรือกัปตันสก็อต (นักสำรวจอังกฤษ) แม้น้กวิทยาศาสตร์ของชาติต่างๆ ที่ทำงานอยู่ ณ ที่นั้น ในปัจจุบันจะมีที่พักที่ดีกว่าเก่า แต่ก็นับว่ายังยากสำหรับข้าพเจ้า ซึ่งเคยอยู่แต่ในที่อากาศอบอุ่นและสบายในการเดินทางไปแสวงหาความรู้และประสบการณ์ที่แอนตาร์กติกา...."                     
                                                                      

                                     การเขียนบันทึก

           เรื่องที่ยกมาข้างต้น คัดมาจากบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศนิวซีแลนด์และขั้วโลกใต้หรือแอนตาร์กติกา(อ่าน แอน-ต๊าก-ติ-ก้า)พระราชนิพนธ์ในสมเด็จ-พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนที่ยกมานี้เป็นตอนที่เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรถ้ำน้ำแข็ง ที่ Mt. Erebus Glacier Tougue ซึ่งทำให้ทรงตื่นตาตื่นใจมาก
การเขียนบันทึกเป็นรูปแบบการเขียนอย่างหนึ่ง มีหลายลักษณะ อาจมีขนาดสั้นหรือยาว อาจเขียนในรูปจดหมาย อนุทิน หรือเขียนเป็นแบบใดก็ได้บันทึกอาจแบ่งคร่าวๆ ตามวัตถุประสงค์การบันทึกได้ ดังนี้
1.  บันทึกส่วนตั ผู้บันทึกจดบันทึกกิจวัตรของตนเอง บันทึกประสบการณ์หรือความรู้สึกนึกคิดของตนไว้อ่านเองเพื่อความพึงพอใจ เพื่อกันลืม หรือเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ เช่น บันทึกประจำวัน บันทึกการเดินทาง
2. บันทึกแจ้งข้อมูลข่าวสาร เป็นบันทึกเพื่อแจ้งเรื่องหรือกิจธุระแก่บุคคลภายในครอบครัวหรือแก่บุคคลอื่นๆ เป็นการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ กึ่งทางการหรือเป็นทางการก็ได้ เช่น บันทึกสื่อสารภายในครอบครัว บันทึกการนัดหมายระหว่างบุคคล บันทึกข้อความทางโทรศัพท์ บันทึกแจ้งหรือเสนอให้ทราบหรือสั่งการให้ถือปฏิบัติภายในหน่วยงานเอกชนและราช

3. บันทึกที่เป็นทางการ อาจเป็นบันทึกของหน่วยงานต่างๆ หรือบันทึกของทางราชการ เช่น บันทึกการตรวจการอยู่เวรยาม

สิ่งที่ควรคำนึงในการเขียนบันทึก

              1.  บันทึกแต่สิ่งที่เป็นความจริง ไม่บิดเบือนความจริง
              2.  เขียนด้วยสำนวนภาษาของตนเองเป็นภาษาง่ายๆ มีระเบียบ
              3.  บันทึกตามลำดับเหตุการณ์
              4.  บันทึกเฉพาะสาระสำคัญว่า ใคร ทำอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม


              ตัวอย่างบันทึก                                                                                                                                          บันทึกข้อความจากโทรศัพท์ 

             16 ต.ค.53                         15.00น.
              เรียน คุณปัทมา
                       คุณมาลัย ร้านดอกไม่ โทรมาเรื่องดอกไม่ที่จะใช้วันเสาร์นี้ขอให้โทรกลับด่วน
              ที่ 0-2525-7346        
                                                                                           สมทรง

                                                  บันทึกเพื่อติดต่อนัดหมาย
            
    เรียน อาจารย์ที่เคารพ
             ผมมาขอคำปรึกษาจากอาจารย์ เรื่อง รายงานหนังสืออ่านนอกเวลาเพื่อจะได้จัดทำให้ดีที่สุด                                                                                                                                                                                                           เท่าที่จะทำได้ขอความกรุณาจากอาจารย์บอกเวลาที่อาจารย์สะดวกและอนุญาตให้เรียนหาได้ด้วยครับ


                                                                                    ด้วยความเคารพ

                                                          จริงใจ แสนดี

                                                        20กันยายน2553


 การเขียนบันทึกลักษณะนี้ แม้จะเป็นบันทึกขนาดสั้นก็ต้องเขียนข้อความให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ส่งสาร ความต้องการของผู้ส่สาร และวันที่ส่งสารให้ชัดเจนครบถ้วน เพื่อให้การสื่อสารได้ผลสมบูรณ์

                                                                           บันทึกการเดินทาง

  การเขียนประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นการเขียนขนาดยาว ผู้บันทึกจะเล่าเรื่องราวการเดินทางของตนถ่ายทอยแก่ผู้อ่านที่ไม่ได้เดินทางไปด้วย ผู้บันทึกจะบอกว่าเดินทางเมื่อใด  ไปที่ใด  ได้พบใคร  ประทับใจเรื่องใดบ้าง  ดังตัวอย่างบันทึกการเสด็จประพาสขั้วโลกใต้ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีที่ยกมาข้างต้น ซึ่งทรงเล่าว่าทรงประทับใจถ้ำน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้มาก
   บันทึกการเดินทางที่ดี คือ บันทึกที่บรรยายความได้ชัดเจน เป็นลำดับขั้นตอนทำให้ผู้อ่านติดตามการเดินทางได้ตลอด พรรณนาสิ่งใดก็ละเอียดลออ ทำให้เห็นภาพได้แจ่มชัด นอกจากพระราชนิพนธ์ เรื่อง แอนตาร์กติกา หนาวหน้าร้อย และพระราชนิพนธ์บันทึกการเดินทางในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีอีกหลาย

ขอขอบคุณ      http://www.suttine18.blogspot.com




เรื่องแล้ว ยังมีตัวอย่างบันทึกการเดินทางที่มีลักษณะดังนี้อีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีผู้นิยมมาก คือ พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้านในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว ดังตอนที่คัดเลือกมาลงไว้ต่อไปนี้
                                  คืนที่ 59

                           โฮเตลเดซอัลปส์ เตอริเตอต์ สวิตเซอร์แลนด์ 

                    วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม รัตนโกสินศก 126

  หญิงน้อย

       เวลาก่อน 4 โมงครึ่ง ไปขึ้นรถไฟที่สเตชั่น รถนี้เปลี่ยนใหม่เป็นรถสวิตเซอร์แลนด์ เบาะเป็นกำมะหยี่แดงกว้างขึ้น นอนค่อยสบาย รถออกเวลา 4 โมงครึ่ง มาหน่อยหนึ่งถึงทะเลสาบเรียกว่า ลาโค แมกเคียวรี เป็นทะเลสาบอันหนึ่งในอิตาลีข้างเหนือมีหลายแห่งด้วยกัน ทะเลนี้ไม่สู้กว้างแต่ยาวมาก รถไฟเดินเลียบมาตามข้างทะเลสาบงามเสียจริงๆ แลดูเหมือนตึกลอยอยู่ในกลางน้ำ เกาะเล็กนั้นเรียกว่าเกาะประมง เป็นที่พวกหาปลาอยู่ พ้นจากทะเลสาบขึ้นมาบ้านเรือนเปลียนรูปร่างไปหมด กลายเป็นก่อด้วยหินมุงด้วยกระดานชนวน แต่ไม่ใช้ตัดเป็นเหลี่ยมสักแต่ว่าเป็นแผ่นๆ เมื่อครั้งมาคราวก่อนขึ้นทางเซนต์โคถาด ช่องนี้ยังไม่ได้ใช้ถรสติมลาก เปลี่ยนป็นรถไฟฟ้าเพื่อจะไม่ให้มีควัน แต่ก็ไม่เห็นป้องกันอะไรได้นัก มีกลิ่นเหม็นเป็นกลิ่นถ่าย ซึ่งรถทำงานต่างๆ ทั่วไปในสวิตเซอร์แลนด์เรมีสโนว์หนุ้มยอดขาวอยุ่ทั้งนั้นปากปล่องซิงปลองข้างฝ่ายสวิตเซอร์แลนด์เรียกว่าบริก พอหลุดปากปล่องออกมาก็แลเห็นต้นแม่น้ำโรน แต่เพียงทนั้นจะไม่พอเหตุด้วยสายน้ำไหลเชี่ยวคงจะกัดเซาะเขื่อนพังร่ำไป ตื้นขึ้นมามากเพราะฉะนั้นเขื่อนจึงไม่พัง น้ำในร่องก็ลึกอยุ่เสมอ

                                                                                                                             จุฬาลงกรณ์ จปร.

                                                                                                                           
                                      บันทึกเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์

        การเขียนบันทึกประเภทนี้มักมีลักษณะเป็นบันทึกขนาดยาวเช่น เรื่อง การตั้งสถานปาสเตอร์รักษาโรคพิษสุนัขบ้า ที่สมเด็จพระเจ้าบรนวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ในนิทานโบรานคดี มีความดังต่อไปนี้
  ในปี พ.ศ. 2454 เกิดเหตุการณ์น่าสลด เมื่อหม่อมเจ้าหญิงบันลุศิริสาร ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ถูกสุนัขบ้ากัด และต่อมามีอาการโรคพิษ-สุนัขบ้ากำเริบ จนถึงแก่ชีพิตักษัยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งในขณะนั้นการรักษาโรคพิษสุนัขบ้าด้วยวิธีการแพทยแผนใหม่ยังไม่มีในประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต แล้วประกาศบอกบุญเรี่ยไร เงินทุนที่จะจัดตั้ง สถานปาสเตอร์ขึ้นในกรุงเทพ มีผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จึงได้จัดตั้งขึ้นที่ตึกของกระทรวงมหาดไทย ถนนบำรุงเมือง ใกล้โรงเลี้ยงเด็ก (บริเวณที่เป็นสถานที่ตรวจโรคปอด กองควบ-คุมวัณโรคในปัจจุบัน ) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน2456 ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทย ทำการผลิตวัคซีนและให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จนกระทั่งเดือนสิงหาคม พ.ศ.2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้กิจการของสถานปาสเตอร์ มาสังกัดสภากาชาดไทยภายใต้ชื่อกองวิทยาศาสตร์ สภากาชาดไทย แต่ยังคงอาศัยสถานที่เดิม เป็นที่ทำการชั่วคราว
       เนื่องในการถวาย พระราชทานเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนึงถึงพระคุณูปการของสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงพระราชปรารภใคร่จะสร้างสิ่งซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์ให้ยั่งยืนอยู่ในประเทศไทย เพื่อเป็นที่เชิดชูพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมราชชนนี คู่กันกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อันเป็นสถานที่เฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมชนกาธิราช จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มอบให้สภากาชาดไทย เพื่ออำนวยการสร้างตึกหลังใหญ่หลังหนึ่งที่มุมถนนสนามม้าติดต่อกับถนนพระราม เพื่อใช้เป็นที่ทำการแห่งใหม่ของกองวิทยา-ศาสตร์ สภากาชาดไทย
       พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสถานที่แห่งใหม่นี้ว่า " สถานเสาวภา " และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ธันวาคม พ.ศ.2465

                                     บันทึกเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในชีวิต

บันทึกประเภทนี้ ผู้เขียนจะเล่าประสบการณ์ที่ประทับใจเป็นเหตุการณ์สำคัญบางตอนในชีวิต และเป็นอุทาหรณ์เตืองใจผู้อ่านบันทึก ความสั้นยาวของบันทึกอยู้ที่ผู้เขียนว่าจะบรรยายหรือพรรณนาเหตุการณ์ละเอียดลออเพียงใดดังตัวอย่างต่อไปนี้ เช่น

วิวิธภาษามัธยมศึกษาปีที่ ๒ เรื่อง ถกประเด็นทำเป็นรายงาน





บทที่ 10 ถกประเด็นทำเป็นรายงาน

สถานการณ์จำลองการประชุม

สถานที่         ห้องประชุมเล็กๆ ห้องหนึ่งในโรงเรียน มีโต๊ะใหญ่ ๑ ตัว มีนักเรียนประชุมอยู่ ๗ คน มี   อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมนั่งอยู่ใกล้ประธาน
ประธาน        เรียนอาจารย์ที่ปรึกษาที่เคารพ  สวัสดีกรรมการทุกคนขณะนี้  กรรมการได้มากันครบองค์ประชุมแล้ว ผมขอเปิดการประชุมคณะกรรมการชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมครั้งที่๒/๒๕๕๔ ผมขอดำเนินการประชุมเลยนะครับเรื่องแรกนะครับ วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ นายกิตติพงศ์ ก่อเกิดยศ ขอลากิจครับ วาระที่ ๒ การรับรองรายงานการประชุมครั้งที่๑/๑๔๔๓ ขอเชิญเลขานุการอ่านรายงานการประชุมครับ
เลขานุการ     (อ่านรายงานการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ )

ประธาน        ถ้าคณะกรรมการท่านใดมีหัวข้อท้วงติง  จะขอแก้ไขก็เชิญเลยนะครับ  ถ้าไม่มีผมขอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม เป็นอันว่าที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ โดยไม่มีการแก้ไขนะครับต่อไปวาระที่ ๓ เรื่องเสนอให้ที่ประชุมทราบ  เป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากการประชุมครั้งก่อน  เกี่ยวกับกิจกรรมที่เราจะทำ ผมขอรวมเป็นเรื่องเพื่อพิจารณาด้วยเลยนะครับ ตามที่เราลงมติว่าจะจัดกิจกรรมรณรงค์โรงเรียนปลอดขยะนั้นทางโรงเรียนเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์จึงขอให้เราจัดกิจกรรมนี้ตลอดเดือนสิงหาคมผมเชิญกรรมการทุกคนประชุมในวันนี้ก็เพื่อพิจารณาจัดกิจกรรมและขั้นตอนในการดำเนินงาน ซึ่งคงจะมีการ
เปลี่ยนแปลงไปบ้าง กรรมการท่านใดมีข้อเสนอแนะ ขอเชิญครับ(กนกยกมือขออนุญาตประธาน)

ประธาน       เชิญคุณกนกครับ

กนก           ท่านประธานครับ ผมคิดว่าเราน่าจะจัดกิจกรรมเพิ่มขึ้นอีกจากที่เตรียมจัดไว้ ซึ่งมีเพียง ๓   กิจกรรม คือ

                 ๑.  ประกวดห้องเรียนสะอาด

                 ๒.  จัดประกวดวาดภาพโรงเรียนในฝัน และ

                 ๓.  ช่วยกันเก็บขยะในโรงเรียนหลังเลิกเรียนทุกวัน เป็นเวลา ๑ สัปดาห์

                 (พรทิพย์และนุชจรียกมือขึ้นพร้อมกัน)

ประธาน      ขอเชิญคุณพรทิพย์พูดก่อนครับ

พรทิพย์        ประธานค่ะ ดิฉันเห็นด้วยกับคุณกนกค่ะ ว่าเราน่าจะเพิ่มกิจกรรมอีก และเพิ่มระยะเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละประเภท อย่างเช่น การประกวดห้องเรียนสะอาดช่วยกันเก็บขยะในโรงเรียน ควรทำตลอดเดือนสิงหาคมและควรเพิ่มกิจกรรมอีกสักอย่าง เช่นการประกวดสุนทรพจน์ค่ะ
ประธาน        ขอบคุณคุณพรทิพย์ที่ได้เสนอกิจกรรมเพิ่มเติม เมื่อกี้คุณนุจรีจะแสดงความคิดเห็นด้วยใช่ไหมครับขอเชิญครับ
นุจรี                ประธานค่ะ  ดิฉันเห็นด้วยกับคุณกนกและคุณพรทิพย์ค่ะ ที่จะให้จัดกิจกรรมเพิ่มขึ้นอีก   กิจกรรมการประกวดสุนทรพจน์ ก็น่าสนใจค่ะ  ดิฉันเห็นด้วย แต่ดิฉันคิดว่าน่าจะจัดกิจกรรมตอบปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอีกกิจกรรมหนึ่ง
ประธาน          ขอบคุณคุณนุจรี   กรรมการท่าอื่นๆ มีความเห็นว่าอย่างไรครับ

นพพร             ประธานครับ  ผมเห็นว่าการแข่งขันตอบปัญหา ควรไปจัดในงานด้านวิชาการ เราจัดเพียง ๔ กิจกรรมก็น่าพอใจแล้วครับ
ประธาน          ขอบคุณคุณนพพรครับ  ผมเองเห็นว่ามีกิจกรรมเพิ่มอีกก็ดีแต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่ที่ประชุมนะครับ กรรมการท่านอื่นเห็นด้วยกับผมไหมครับ  หรือจะเสนอความคิดเห็นอะไรเพิ่มอีกไหมครับ(ไม่มีใครเสนออะไรอีก) ถ้าไม่มีใครเสนออะไรเพิ่มเติมอีก ผมขอเรียนเชิญอาจารย์ที่ปรึกษากรุณาให้คำแนะนำเพิ่มเติม ก่อนที่พวกเราจะดำเนินการต่อไปครับ

อาจารย์           ก่อนอื่น ครูต้องขอแสดงความชื่นชมที่เห็นทุกคนมีความตั้งใจดีในการทำกิจกรรมนี้ ความคิดที่ช่วยกันแสดงออกมาในที่ประชุมนั้นน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ครูฝากเป็นข้อคิดว่าการทำงานจะสำเร็จด้วยดี พวกเราต้องทำงานเป็นคณะ เป็นกลุ่ม ขอให้ดำเนินงานอย่างประหยัด ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติในหน้าที่ใด ก็ขอปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ และเต็มความสามารถของตน
ประธาน           ขอบพระคุณครับอาจารย์ คณะกรรมการจะทำตามความคิดเห็นของอาจารย์ครับ ผมขอดำเนินการประชุมต่อไปนะครับเป็นอันว่าที่ประชุมมีมติให้เพิ่มการประกวดสุนทรพจน์อีก ๑ กิจกรรม เป็น๔ กิจกรรมและเพิ่มการประกวดห้องเรียนสะอาด และการเก็บขยะเป็นตลอดเดือนสิงหาในการประชุมครั้งที่แล้ว เราได้พิจารณาจัดรูปแบบของกิจกรรมกำหนดคณะทำงานในหน้าที่ต่างๆได้แล้ว แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในการจัด  และเพิ่มกิจกรรมการประกวดสุนทรพจน์ขึ้นอีก ๑ กิจกรรมก็คงต้องช่วยกันจัดรูปแบบขั้นตอน และคณะทำงานในแต่ละกิจกรรมเพิ่มเติม
ประธาน           ก่อนปิดการประชุม ผมขอแจ้งกำหนดการประชุมครั้งต่อไป คือ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา๑๕.๓๐ น. เป็นต้นไป สถานที่เดิม คือห้องชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้ผมขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาและขอบคุณกรรมการทุกคนที่มาประชุมในวันนี้ ผมขอปิดการประชุม สวัสดีครับ

เรียนรู้เรื่องการประชุม
        บทอ่านข้างต้นเป็นสถานการณ์จำลองการประชุมของนักเรียนซึ่งเป็นคณะกรรมการในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม โรงเรียนศึกษาวิทยา แสดงให้เห็นระเบียบวิธีการประชุมซึ่งผู้เรียนจะนำไปเป็นแบบอย่างในการประชุมของนักเรียนได้ ในการประชุม องค์ประชุมประกอบด้วยประธาน กรรมการ เลขานุการ และอาจมีที่ปรึกษาด้วย เลขานุการกรรมการการประชุมจะทำหน้าที่บันทึกเรื่องราวที่ประชุม และจะต้องรับผิดชอบจัดทำรายงานการประชุมเพื่อเสนอให้คณะกรรมการประชุมรับรองในการประชุมครั้งต่อไป
รายงานการประชุม


๑) รายงานการประชุม ให้ลงชื่อคณะที่ประชุม คือระบุว่าเป็นการประชุมคณะกรรมการใด เช่น รายงานการประชุมคณะกรรมการการชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนศึกษาวิทยา
๒) ครั้งที่ ให้ลงครั้งที่ประชุมเป็นรายปี โดยเริ่มครั้งแรกจากเลข ๑ เรียงลำดับไปจนสิ้นปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชที่ประชุม เมื่อขึ้นปีปฏิทินใหม่ให้เริ่มครั้งที่ ๑ ใหม่ เรียงไปตามลำดับ เช่น ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ หรือลงจำนวนครั้งที่ประชุมทั้งหมด
๓) วัน เดือน ปีที่ประชุม ให้ลงวันที่พร้อมตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุธศักราช เช่น เมื่อวันที่๑๐ มกราคม ๒๕๕๓
๔) สถานที่ประชุม ให้ระบุห้องที่มาประชุมและอาคารที่ใช้ประชุม
๕) ผู้มาประชุม ให้ลงชื่อและ/หรือตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งมาประชุม ในกรณีที่เป็นผุ้ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนหน่วยงานให้ระบุว่าเป็นผู้แทนจากหน่วยงานใด
๖) ผู้ไม่มาประชุม ให้ลงชื่อและ/หรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งมิได้มาประชุม โดยระบุว่ามาจากหน่วยงานใด
๗) ผู้เข้าร่วมประชุม ให้ลงชื่อและ/หรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมถ้ามีหน่วยงานที่สังกัด ให้ระบุด้วย
๘) เริ่มประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุม
๙) ข้อความ ให้บันทึกข้อความที่ประชุม โดยปรกติเริ่มด้วยประธานกล่าวเปิดประชุมเรื่องที่ประชุมรวมทั้งมติหรือข้อสรุปของที่ประชุมในแต่ละเรื่องประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ดังนี้
                  ๑) เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
                  ๒) เรื่องรับรองรายงานการประชุม
                  ๓) เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ
                  ๔) เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
                  ๕) เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
๑๐) เลิกประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เลิกประชุม
๑๑) ผู้บันทึกรายงานการประชุม ให้เลขานุการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้บันทึกการประชุม ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งพิมพ์ชื่อเต็มและนามสกุลไว้ใต้ลายมือชื่อด้วย
การบันมึกการประชุมอาจทำได้ ๓ วิธี
      .บันทึกรายละเอียดคำพูดของกรรมการและผู้ข้าร่วมประชุม
      .บันทึกย่อคำพูดของกรรมการหรือผู้เข้าร่วมประชุม
      .บันทึกแต่เหตุผลของที่ประชุม
การรับรองการประชุมอาจทำได้ ๓ วิธี
      .รับรองในการประชุมครั้งนั้น ใช้สำหรับกรณีเร่งด่วน
      .รับรองในการประชุมครั้งต่อไป ประธานหรือเลขานุการ เสนอรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
      .รับรองโดยการแจ้งเวียน ใช้ในกรณีที่ไม่มีการประชุมครั้งต่อไป หรือมีแต่ยังกำหนดเวลาการประชุมไม่ได้
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่อที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา



ความรู้เกี่ยวกับการประชุม

         จุดมุ่งหมายการประชุม

         การประชุมทำให้ผู้ร่วมประชุมได้ร่วมพิจารณาและแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่จะดำเนินการต่อไป เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่ดีที่สุดโดยเล็งเห็นผลของกิจกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งในสังคมประชาธิปไตยควรหารข้อยุติในลักษณะของการร่วมกันคิดและร่วมกันอภิปรายโดยใช้ข้อมูลย่างรอบด้าน มีการพิจารณาเหตุผลของแต่ละฝ่ายด้วยความเป็นธรรม ข้อเสนอของฝ่ายใดมีเห็นผลและมีความเป็นไปได้มากกว่าก็จะนำไปปฏิบัติต่อไปและเมื่อได้ลงมติเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้เข้าประชุมต้องยอมรับมติของที่ประชุม ไม่นำความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันมาเป็นข้อขัดแย้งให้เกิดความบาหมางในภายหลัง
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม

การประชุมทุกรูปแบบทั้งการประชุมเฉพาะกลุ่มและการประชุมสาธารณะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย มีคำศัพท์เฉพาะสำคัญๆ ดังนี้
ผู้จัดประชุม คือผู้ริเริ่มให้เกิดเป็นประชุมขึ้น เป็นผู้กำหนดเรื่องประชุม กำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตงาน
ผู้มาประชุม หมายถึง ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม และผู้มาประชุมแทนผู้ใดหรือตำแหน่งในคณะที่ประชุม
ผู้เข้าร่วมประชุม หมายถึง ผู้ที่มิได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งได้เข้าร่วมประชุม อาจเป็นผู้ขอเข้าสังเกตการณ์การประชุม
องค์ประชุม หมายถึง จำนวนผู้มาประชุมตามที่ข้อบังคับตราไว้ว่าต้องมีอย่างน้อยกี่คนจึงจะเปิดประชุมและดำเนินการประชุมได้  ในขณะที่ประชุมอยู่ ถ้ามีผู้ออกจากที่ประชุมไปจนเหลือผู้มาประชุมไม่ครบองค์ประชุม การประชุมก็จำเป็นยุติลง
     ที่ประชุม หมายถึง กรรมการทั้งหมดที่เข้าประชุมและอยู่ในห้องประชุมขณะที่การประชุมดำเนินอยู่
    เรื่องที่ประชุมหรือญัตติ  หมายถึงข้อเสนอที่กำหนดให้ที่ประชุมพิจารณา
       มติ  หมายถึงข้อตกลงของประชุมให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งจะต้องปฏิบัติต่อไปนี้  มติของที่ประชุมอาจเป็นมติโดยเอกฉันท์  หมายความว่าผู้มาประชุมเห็นพ้องต้องกันทุกคน  หรือมติโดยเสียงข้างมาก  หมายความว่าผู้มาประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อตัดสินนั้นมีผู้มาประชุมส่วนน้อยที่ไม่เห็นด้วย
ตำแหน่งหน้าที่ของผู้เข้าประชุม
ในการประชุมผู้เข้าประชุมจะมีตำแหน่งหน้าที่ในการประชุม  ผู้ที่เข้าประชุมควรปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามตำแหน่งและหน้าที่ของตน ดังนี้
ประธาน  คือ  ผู้ทำหน้าที่ควบคุมการประชุมให้ดำเนินไปตามหัวข้อและวาระที่วางไว้
รองประธาน  คือ  ผู้ทำหน้าที่แทนประธานเมื่อประธานไม่อยู่
กรรมการ  คือ  ผู้ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องที่อยู่ในวาระการประชุมและเสนอความคิดเห็นที่มีเหตุผล
เลขานุการ คือ  ผู้ทำหน้าที่จัดเรื่องที่จะประชุมโดยความเห็นชอบของประธาน ส่งจดหมายเชิญประชุม  เตรียมสถานที่  และเอกสารใช้ในการประชุมและจัดอำนวยความสะดวกต่างๆ
ผู้ช่วยเรขานุการ  คือ ผู้ทำหน้าที่ช่วยงานต่างๆ  ของเรขานุการ

ภาษาที่ใช้ในการประชุม

ประธานต้องกล่าวกับที่ประชุมโดยใช้ศัพท์ในการประชุมให้ถูกต้องและต้องให้เกียรติผู้เข้าประชุม
ผู้เข้าประชุมต้องพูดเสนอความคิดเห็นต่อประธานในที่ประชุม  ไม่เสนอความคิดเห็นหรือพูดโต้ตอบกันเองในระหว่างการประชุม
มารยาทในการประชุม

ผู้เข้าประชุมต้องรักษามารยาทในการประชุมคือ
   ๑.    เข้าประชุมทุกครั้งถ้าเข้าประชุมไม่ได้ควรแจ้งเลขานุการทราบล่วงหน้า พร้องแจ้งเหตุผลที่ไม่เข้าร่วมประชุม
๒.   ควรมาก่อนที่ประธานจะมาถึงที่ประชุมเล็กน้อยและไม่ควรออกจากที่ประชุมก่อนเวลาเลิกประชุม
   ๓.   การแสดงความคิดเห็นต้องใช้คำพูดที่สุภาพ  ไม่ใช้ถ้อยคำรุนแรงหยาบคายหรือกริยาก้าวร้าว
   ๔.   ขณะที่ประชุมไม่พูดคุยกันเอง  ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือหรือทำงานอื่น
   ๕.   หากต้องการบันทึกภาพไม่ควรรบกวนที่ประชุม                                                                      -ขอขอบคุณ   http://www.preecha234.blogspot.com/

comment